เมนู

สองบทพระคาถาว่า เอเต กามา ปวุจฺจนฺติ ยตฺถ สตฺโต
ปุถุชฺชโน
ความว่า ปุถุชน ติด ข้อง เกี่ยวพัน ผูกพันอยู่ในเครื่องข้อง
และเปลือกตมอันใด.
บทว่า อุปาทาเน ได้แก่ ในอุปาทาน 4 อย่าง. บทว่า ชาติมรณ-
สมฺภเว
ความว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นปัจจัยแห่งชรา และมรณะ. บทว่า
อนุปาทา วิมุจฺจนฺติ ได้แก่ หลุดพ้นไปเพราะไม่ยึดมั่น. บทว่า ชาติมรณ-
สงฺขเย
ได้แก่ ในพระนิพพาน กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ และมรณะ
ทั้งหลาย อธิบายว่า ย่อมพ้นด้วยวิมุตติมีพระนิพพานเป็นอารมณ์. ภิกษุนี้
บรรลุแล้ว ซึ่งพระอรหัตผลนั่นแล โดยไม่หมุนไปในฐานะนี้. บัดนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยผู้เป็นพระขีณาสพ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
เต เขมปตฺตา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมปตฺตา ได้แก่
ถึงซึ่งความเกษม. บทว่า สุขิโน ได้แก่ ถึงความสุขโดยโลกุตรสุข. บทว่า
ทฏฺฐธมฺมาภินิพฺพุตา ได้แก่ ดับสนิทแล้ว ในทิฏฐธธรรมนี้แหละ เพราะ
ไม่มีกิเลสในภายใน. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเฉพาะวัฏฏะแล้ว
ในคาถาจึงตรัส ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.
จบอรรถกถาภยสูตรที่ 3

4. หิมวันตสูตร


ว่าด้วยธรรมที่ทำลายอวิชชาได้


[295] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการ
พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามก ธรรม 6
ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด

ในการเข้าสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในการ
ออกแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมมูลแห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดใน
อารมณ์แห่งสมาธิ 1 เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล พึงทำลายขุนเขาหิมวันต์ได้ จะป่วย
กล่าวไปไยถึงอวิชชาอันลามกเล่า.
จบหิมวันตสูตรที่ 4

อรรถกถาหิมวันตสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในหิมวันตสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้:-
บทว่า ปทาเลยฺย แปลว่า พึงทำลาย. บทว่า ฉวาย ได้แก่
ต่ำทราม. บทว่า สมาธิสฺส สมาปตฺติกุสโล โหติ ความว่า ภิกษุย่อม
เป็นผู้ฉลาด คือเฉียบแหลม ได้แก่มีปรีชาสามารถ เพื่อเข้าสมาธิ โดยกำหนด
เอาอาหารเป็นที่สบาย และฤดูเป็นที่สบาย. บทว่า สมาธิสฺส ฐิตกุสโล
ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการหยุดสมาธิไว้ได้ อธิบายว่า สามารถจะยับยั้งไว้ได้.
บทว่า สมาธิสฺส วุฏฐานกุสโล ความว่า เป็นผู้ฉลาดในการออกสมาธิ
อธิบายว่า สามารถเพื่อจะออกได้ตามกำหนด. บทว่า สมาธิสฺส กลฺลิต
กุสโล
ความว่า เป็นผู้ฉลาดในความที่สมาธิควรแก่กาล อธิบายว่า สามารถ
เพื่อจะทำให้สมควร เพื่อให้สมาธิจิตร่าเริง.
บทว่า สมาธิสฺส โคจรกุสโล ความว่า ภิกษุเมื่อเว้นอสัปปายะ
คือธรรมที่ไม่ได้เป็นอุปการะแก่สมาธิ ส้องเสพสัปปายะ คือธรรมที่เป็นอุปการะ
(แก่สมาธิ) ก็ดี รู้อยู่ว่า สมาธินี้มีนิมิตเป็นอารมณ์ สมาธินี้ มีลักษณะ
เป็นอารมณ์ก็ดี ชื่อว่า เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ.